การพัฒนาทักษะการศึกษาและคุณภาพชีวิตของประเทศไทย

9

การศึกษาไทยในปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นการผลิตคนให้รับใช้สังคมเท่านั้นเนื่องจากหลักสูตรที่จัดทำออกมาไม่ได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชนบท ทำให้คนเหล่านั้นก้าวจากสังคมชนบทไปตั้งหลักแหล่งในสังคมเมืองแทนที่จะกลับไปพัฒนาท้องถิ่นตนเองตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งทศวรรษที่มีการจัดระบบการศึกษาไทยการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาถ้าเปลี่ยนแปลงโดยยึดถือแต่ โรงเรียน ครู นักเรียน และเนื้อหาวิชาเป็นหลักโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมอื่นอย่างเท่าเทียมเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนเฉพาะรูปแบบที่หนีไม่พ้นการพายเรือในอ่างซึ่งไมต่างจากการศึกษาตอนเริ่มต้นที่นำเอาระบบโรงเรียนแบบตะวันตกเข้ามาเมื่อปี พ.ศ 2441 ถ้าการศึกษาไทยยังเป็นเช่นนี้ผลเสียจะเกิดต่อนักเรียน จิตสำนึกความเป็นครู และสังคม นักเรียนจะกลายเป็นผู้ที่มีความรู้แต่ปฎิบัติไม่ได้เนื่องจากเข้าไปไม่ถึงปัญหาที่แท้จริงหลักสูตรยังคงเน้นการวัดผลให้นักเรียนจดจำเนื้อหา กำหนดเวลาสอบผู้เรียนก็ต้องท่องจำ กวดวิชาทำให้เสียเวลาส่วนนี้ไปมากจนไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตและประสบการณ์นอกห้องเรียน

การศึกษาไทยต้องเน้นผลต่อผู้เรียนทั้งในระดับนโยบายและระดับการเรียนการสอนโดยกำหนดนโยบายการศึกษาที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามวิธีที่ถนัดและสนใจ เรียนอย่างสนุก เล่นให้ได้ความรู้ มีความสุขกับการเรียน ครูสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขกับการเรียนการศึกษาไทยต้องมุ่งยกระดับงานให้เป็นแรงงานคุณภาพที่เข้มแข็งและแข็งขัน มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา องค์กรปกครองท้องถิ่น มีการกำหนดมาตรฐานในการศึกษา จัดรูปแบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ มีการส่งเสริมรากฐานและพัฒนาวิชาชีพครู บุคคลากรทางการศึกษา ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการศึกษาและการมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน และสถาบันสังคมอื่นๆ

เหตุที่ต้องมีการปฎิรูปการศึกษาไทยก็เพราะคุณภาพการศึกษาไทยนั้นเริ่มตกต่ำไม่ทันโลกแข่งขันกับประเทศอื่น ทั้งนี้เพราะคุณภาพผู้เรียนไม่เป็นที่พอใจมีผลสัมฤทธิ์ต่ำในทุกวิชา ส่วนผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วก็มีคุณภาพที่ไม่น่าพึงพอใจ การเรียนการสอนขาดการอบรมบ่มนิสัยไม่ได้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและภูมิปัญญาไทยอย่างเพียงพอ การเข้ารับการศึกษาไม่กว้างขวาง ไม่ทั่วถึง และไม่เป็นธรรม เกิดความเลื่อมล้ำในการเข้ารับการศึกษายังมีคนที่พลาดโอกาสและด้อยโอกาสที่จะเข้ารับการศึกษาอีกจำนวนมาก การศึกษาในปัจจุบันเป็นแบบแยกส่วนไม่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในสังคม การศึกษายังขาดการบูรณาการเชื่อมโยงและการบริหารจัดการศึกษาไทยยังขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล